เมตตาธรรม
ความเมตตาของปุถุชนมิได้เกิดจาก ธรรมญาณ หรือ ความเป็นกลาง ย่อมมีเงื่อนไข กาลเวลา ชนชั้น และต้องการค่าตอบแทน เพราะเหตุนี้คำกล่าวที่ยีนยันความจริงข้อนี้จึงมีอยู่ว่า
" ยามรักน้ำต้มผักยังว่าหวาน ยามชังแม้น้ำตาลยังว่าขม "
เมตตาของปุถุชนจึงเป็นสิ่งจอมปลอม เมื่อสิ้นเหตุปัจจัยย่อมหมด "เมตตา" ได้ง่าย ๆ ด้วยเหตุนี้จึงกล่าวได้ว่าปุถุชนไร้เมตตา มีแต่ความเห็นแก่ตัว จึงก่อทุกข์สถานเดียว
เมตตา เช่นนี้จึงไม่อาจค้ำจุนโลก มีแต่ทำลายโลกและทำลายตนเอง ปุถุชนจึงทำสิ่งที่ตรงกันข้ามปากพูดอย่างหนึ่ง แต่กระทำอีกอย่างหนึ่ง
อย่างกรณีการทำบุญตักบาตร ปากพร่ำบ่นว่า "สัพเพสัตตา สัตว์ทั้งหลายอันเป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น จงอย่าได้มีเวรแก่กันและกัน จงอย่ามีความอาฆาตพยาบาทเบียดเบียนซึ่งกันและกัน จงเป็นสุข ๆ เถิด " แต่อาหารที่ใส่ลงไปในบาตรนั้นล้วนเป็นชีวิตเลือดเนื้อของสัตว์ทั้งหลาย เพราะฉะนั้น เขาจึงทำตรงกันข้ามกับปากที่พูด หากจะพูดตรงต่อความเป็นจริงแล้ว ก็ต้องกล่าวว่า "สัพเพสัตตา สัตว์ทั้งหลายอันเป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น จงได้มีเวรแก่กันและกัน จงมีความอาฆาตพยาบาทเบียดเบียนซึ่งกันและกัน จงเป็นทุกข์ ๆ เถิด"
ดังนั้นการทำบุญของปุถุชนจึงมีบาปปนเปไปด้วย ถ้าพิจารณา " เมตตา " อันเป็นทางสายกลางของพระอริยเจ้าทั้งสามพระองค์ ประกอบไปด้วย พระพุทธเจ้า ท่านเหลาจื้อ ท่านขงจื้อ จะเห็นความเป็นจริงว่า เป็นเมตตาที่ตรงต่อ " ทางสายกลาง " ชัดเจนที่สุด ทั้งสามศาสนามีคำพูดอย่างเดียวกันเพียงแต่ภาษาต่างกันเท่านั้นเอง
ท่านเหลาจื้อ ให้บำเพ็ญ ธาตุไม้ (มู่)
ท่านขงจื้อ ให้บำเพ็ญ เมตตา (เหยิน)
พระพุทธเจ้า ให้รักษาศีล ปาณาติปาตา เว้นจากการเบียดเบียนชีวิตสัตว์
1. ไม่มีเงื่อนไขผูกมัดใด ๆ จะเป็นญาติ หรือคนที่รัก หรือชัง ล้วนได้รับความเมตตา
2. ไม่มีเวลาจำกัดไม่ว่าจะตายไปแล้วหรือล่วงไปนานเท่าใดก็บังเมตตา
3. ไม่ต้องการค่าตอบแทนใด ๆ ทั้งสิ้น แม้เมตตาแล้วจะได้รับผลเลวร้ายก็ยังคงเมตตา
4. ไม่เลือกชนชั้นวรรณะ ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะสูงส่งต่ำต้อย ยากไร้อย่างไร ก็ได้รับความเมตตาเท่าเทียมกัน
ความเมตตาเช่นนี้จึงมีค่า " ค้ำจุนโลก " ได้หรือมิได้ทำลายสรรพชีวิตใด ๆ เลย มีแต่ทำให้ชีวิตทั้งปวงเจริญงอกงามขึ้นมาดั่งฟ้าดินที่ให้ทุกสิ่งอย่างแก่ชีวิตโดยไม่ต้องการผลตอบแทนและเงื่อนไขใด ๆ ทุกชีวิตต่างได้รับ อากาศ น้ำ ยืนอยู่บนแผ่นดินเท่าเทียมกัน ความเมตตาธรรมเช่นนี้จึงทำให้ชีวิตมีความสุขอันแท้จริง เพราะฉะนั้นถ้ามนุษย์เรียนรู้เมตตาเช่นนี้จึงก่อให้เกิด สันติสุขแก่ตนเองและชาวโลกทั้งปวง แต่ถ้าประพฤติผิดต่อหลักสัจธรรมของเมตตา ย่อมส่งผลร้ายต่อร่างกายเพราะคนที่ไร้เมตตามักจะเป็นผู้ที่มีโทสะจริตครอบงำ โมโหโกรธามาก ๆ ย่อมกระทบกระเทือนต่ออวัยวะสำคัญของร่างกาย คือ " ตับ " ถ้าตับเสีย ย่อมมีผลต่อการกรองของเสียจากอาหารที่เข้าสู่ร่างกาย ผู้บำเพ็ญ " เมตตา " อย่างแท้จริงและตรงต่อทางสายกลางจึงเป็นการกำจัด " โทสะ " ได้และย่อมมีผลต่อร่างกายของผู้นั้นเอง หน้าตาจึงผ่องใสยิ้มแย้ม
ผู้มีเมตตาธรรม อันตรงต่อสัจธรรมจึงไม่รับประทานเนื้อสัตว์ เพราะถือเป็นการเบียดเบียนชีวิต พืชผักสีเขียวจึงเป็นคุณต่อตับ "ยกเว้นเพียง กุ้ยฉ่าย เท่านั้นที่เป็นพิษต่อตับ" และเพื่อ "รักษา ตับ" มิให้กระทบกระเทือนรสชาดของอาหารจึงหลีกเลี่ยง " รสเปรี้ยวจัด " การดำรงเช่นนี้จึงเป็นทางสายกลางอันนแท้จริง เมื่อทั้ง " กาย " และ " จิต " อยู่ในทางสายกลาง ความเมตตาจึงมีพลานุภาพต่อสรรพชีวิต ความหมาย " แห่ง เมตตา " จึงทนมิได้กับความทุกข์ยากของผู้อื่น "ความกรุณา" จึงใคร่แบ่งปันความสุขของตนเองเพื่อให้คนอื่นมีความสุขเยี่ยงเดียวกัน
ครั้งหนึ่งผู้เขียนควรชวนเพื่อนคนหนึ่งให้เข้าปฏิบีติธรรม แต่เขากลับตอบว่า "อ้าว ก็ทางสายกลางซีครับ " ถ้าเช่นนั้นก็หมายความว่า จิตใจของคุณเป็นเช่น ฟ้า ดิน น้ำ อากาศ อย่างนั้นละซี "ไม่ใช่ อยากกินก็กิน อยากเที่ยวก็เที่ยว ไม่เบียดเบียนให้ใครเดือดร้อนเป็นใช้ได้ " แล้วนี่เบียดเบียนตัวเองล่ะ ใช้ได้หรือไม่ การสนทนานั้นจบลงตรงที่ฝ่ายเพื่อนนั่งนิ่งเงียบ เพราะเขาคงได้คิดว่า เมตตาธรรมมิได้หมายความว่า เมตตาต่อผู้อื่นแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แท้ที่จริงยังต้องเมตตาต่อตนเองด้วย "ไม่สร้างกรรมให้ชีวิตจริงของตนเองต้องตกต่ำลงสู่ห้วงเหวแห่งนรกนั่นเอง" ถ้าธรรมญาณตกต่ำออกทางหู ย่อมไปเกิดเป็นตังมิ้ง ออกทางปากย่อมไปเป็นปลาวาฬ เพื่อบำเพ็ญ "เมตตา" ให้สมบูรณ์นั่นแล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น