เมนูอาหารเจ เทศกาลกินเจ

รวบรวม...เมนูอาหารเจอร่อยๆ สูตรอาหารเจง่ายๆ

คลิ๊กเลย >>> รวบรวมเมนูอาหารเจ..อร่อยๆ   สอนทำอาหารเจง่ายๆ

วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555

[ไขข้อข้องใจ]...มนุษย์จัดอยู่ในตระกูลสัตว์กินพืช หรือ กินเนื้อ

มนุษย์จัดอยู่ในตระกูลสัตว์กินพืช หรือ กินเนื้อ



จากผลการศึกษาและวิจัย ของวงการแพทย์ที่มีชื่อเสียงในแต่ละประเทศทั่วโลก ว่าด้วยเรื่องโครงสร้างด้านกายภาพของมนุษย์พบว่า อวัยวะหลายส่วน เช่น ตา หู จมูก ลิ้น เล็บมือ เล็บเท้า ฟัน กระดูกส่วนคางและฟันกราม มีโครงสร้างที่คล้ายคลึงกับสัตว์กินพืชมากที่สุด


ฟันของมนุษย์ทำหน้าที่ บดและเคี้ยว อาหารซึ่งมีคุณลักษณะที่แตกต่างไปจาพฟันของสัตว์กินเนื้ออย่างเห็นได้ชัด สัตว์กินเนื้อจะมีฟันที่แหลมคม ใช้ทำหน้าที่ฉีกกัดเนื้อ แต่ไม่สามารถบดชิ้นเนื้อให้ละเอียดได้ มันจะกลืนอาหารลงคอทันที

ฟันของมนุษย์ จะมีลักษณะเรียบและเรียงติดกันซึ่งเป็นลักษณะเช่นเดียวกับสัตว์กินพืช น้ำลายของมนุษย์มีสภาพเป็นด่างไม่สามาถย่อยเนื้อสัตว์ที่อยู่ในปากได้อย่างรวดเร็วเหมือนสัตว์กินเนื้อที่น้ำลายมีสภาพเป็นกรด

ดังนั้นฟันของมนุษย์จึงเหมาะสำหรับใช้บดเคี้ยวอาหารประเภทพืชผักผลไม้ให้ละเอียด ฟันหน้าและเขี้ยวของสัตว์กินเนื้อ จะแหลมคม เพื่อใช้ในการล่าเหยื่อดังนั้นฟันและเขี้ยวที่แหลมคมจึงสามารถกัดทะลุ ชำแหละเนื้อและกระดูกของเหยื่อออกเป็นชิ้นๆ พบว่าสัตว์ที่กินเนื้อเหล่านั้นไม่มีฟันกรามใช้สำหรับบดเคี้ยวอาหารให้ละเอียดเหมือนมนุษย์

บันทึกโรคแทรกซ้อน นายแพทย์ บรรจบ ชุณกสวัสดิกุล 

สัตว์กินเนื้อ เช่น เสือ สิงโต สัตว์เหล่านี้ธรรมชาติได้สร้างทางเดินอาหารสั้นมาก เนื่องจากเนื้อสัตว์เน่าเปื่อยเร็วมาก แล้วสารจากการเน่าเปื่อยของเนื้อจะกลายเป็นสารพิษ ดังนั้นทางเดินอาหารสัตว์กินเนื้อจึงวิวัฒนาการมาให้สั้น ดูดซึมเฉพาะธาตุอาหาร แล้วถ่ายกากทิ้งโดยเร็วไม่ทันดูดซึมสารเสียจากการเน่าเปื่อย สำคัญเหนือสิ่งอื่นใดสัตว์กินเนื้อมีเขี้ยวที่คม มีขากรรไกรที่ทรงพลัง พร้อมกรงเล็บอันคมกริบ ทั้งหมดนี้ออกแบบมาสำหรับล่าเหยื่อโดยแท้ สัตว์กินพืช ได้แก่ ช้าง ม้า วัว ควาย มันต้องกินวันละมากๆ ร่างกายจะเก็บทุกอณูอาหารเอาไปใช้ มันจึงมีทางเดินอาหารยาวถึง 10 เท่าของลำตัว นายแพทย์วิลเลี่ยมคอลลินส์ แห่งศูนย์การแพทย์นิวยอร์กไมมอนเดส ทดลองให้เห็นอันตรายของอาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่มีต่อสัตว์กินพืชโดยเอาไขมันวันละครึ่งปอนด์ไปให้กระต่ายกินทุกวัน เป็นเวลา 2 เดือน ปรากฎว่าหลอดเลือดของกระต่ายจับก้อนไขมันไปทั่ว เกิดภาวะหลอดเลือดแข็งตัว


ภาพเปรียบเทียบโครงสร้างทางเดินอาหารระหว่าง สัตว์กินพืช(ซ้าย-ยาวกว่า) และ สัตว์กินเนื้อ(ขวา-สั้นกว่า)

ลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ ของมนุษย์และสัตว์กินพืชนั้นยาว 10-12 เท่าของลำตัวเหมือนกัน จำเป็นต้องใช้เวลาในการย่อยอาหารนานกว่า ด้วยเหตุผลดังกล่าวหากมีของเสีย (เนื้อสัตว์ฉ ตกค้างอยู่ในร่างกายนานเกินไปจะทำให้เลือดเป็นพิษ และยังเพิ่มภาระให้แก่ตับอีกด้วย

ลำไส้ของมนุษย์ ไม่เหมาะที่จะย่อยอาหารประเภทเนื้อสัตว์เพราะไม่มีเส้นใยที่เป็นประโยชน์เลย เมื่อผ่านกระบวนการย่อยสลายแล้ว จะยังคงเหลือกากที่เน่าเสียหากตกค้างอยู่ในลำไส้นานเกินไป ตับก็จะต้องทำงานหนัก ฉะนั้น ไม่น่าแปลกใจเลยว่าทำไมคนที่กินเนื้อสัตว์จึงต้องป่วยเป็นโรคตับเรื้อรังและมะเร็งตับกันมาก

ลำไส้เล็กของสัตว์กินเนื้อสั้น เพียง 3 เท่าของลำตัว ลำไส้ใหญ่ตรง ผนังลำไส้เรียบและลื่น ดังนั้นระบบทางเดินอาหารของสัตว์ที่กินเนื้อจึงมีลำไส้ที่สั้น ไม่สลับซับซ้อน ซึ่งสามารถขับถ่ายอาหารที่กินเข้าไปได้อย่างรวดเร็ว กรดในกระเพาะอาหารของสัตว์กินเนื้อ มีฤทธิ์แรงกว่า 20 เท่าของมนุษย์และสัตว์กินพืช ทั้งนี้ก็เพื่อย่อยสลาย เอ็น กล้ามเนื้อ กระดูก และส่วนอื่น ๆ ที่ย่อยยากของเหยื่อที่กลืนลงไป สีหน้าและบุคคลิก ของคนที่ไม่ทานเนื้อสัตว์ไม่ต้องสังเกตก็เห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจน ผู้ที่ทานเนื้อสัตว์นั้นเมื่ออายุมากขึ้นสภาพร่างกายจะอ่อนแอ เนื่องจากเซลล์ร่างกายไม่แข็งแรง และอวัยวะภายในเสื่อมสมรรถภาพ ส่วยผู้ที่ละเว้นเนื้อสัตว์ผิวพรรณจะสดใสไม่หมองคล้ำ และสุขภาพแข็งแรง 

บันทึกโรคแทรกซ้อน แพทย์หญิง เพชรา หล่อวิทยา “

สารพิษ” เป็นคำรวมที่ใช้เรียกสารเคมีทุกชนิดเมื่อสะสมในร่างกายแล้วจะก่อให้เกิดผลเสีย เช่น ของเสียที่เกิดจากอาหารไม่ย่อย เกิดการหมักหมาม และบูดเน่าในสำไส้ แล้วถูกดูดซึมผ่านผนังสำไส้เข้าไป รวมทั้งสารเคมีที่ติดมากับเนื้อสัตว์ การขจัดสารพิษเป็นหน้าที่ปกติของอวัยวะทุกส่วนภายในอยู่แล้ว ในรูปของอุจจาระ ปัสสาวะ เหงื่อไคล ลมหายใจ แต่เมื่อเกิดกรณีใดๆ ก็ตามที่อวัยวะเหล่านี้ไม่สามารถขับสารพิษออกไปได้เร็วพอๆ กับที่ถูกสร้างขึ้น ก็จะเกิดมีการสะสมขึ้นในร่างกาย เมื่อถึงระดับหนึ่งร่างกายจะต้องหาทางขับออกโดยต้องผ่านทางเนื้อเยื่ออื่น ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในเนื้อเยื่อเหล่านี้ก็คือ อาการเจ็บไข้ได้ป่วย ซึ่งถูกเรียกชื่อไปตามลักษณะของสารพิษที่ถูกขับถ่าย และสภาพที่เกิดขึ้น

จึงสรุปได้ว่า “ต้นเหตุของการเจ็บไข้ได้ป่วยมีอยู่อย่างเดียว คือการสะสมสารพิษไว้ในร่างกายมากเกินไป”





บทความที่ได้รับความนิยม